in

อัคคีภัย

อัคคีภัย คืออะไร

อัคคีภัย คือ เหตุไฟไหม้ที่เกิดขึ้นมาจากความไม่ได้ตั้งใจของธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น การทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อยู่ในภาวะลัดวงจร หรือจะเป็นความจงใจจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การเผาป่า การลักลอบวางเพลิง ที่มีแรงจูงใจในการทำลายทรัพย์สินและชีวิต โดยเพลิงไหม้เป็นภัยพิบัติที่ไม่สามารถควบคุมให้สงบลงในเวลาสั้นๆ ได้ เนื่องจากแกนกลางความร้อนเป็นตัวลุกลาม หากมีกระแสลม เพลิงไหม้ก็จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้อัคคีภัยมีเพลิงหนุนมวลความร้อนอยู่ตลอดเวลา

สาเหตุของอัคคีภัย เกิดจากอะไร

สาเหตุใดที่ทำให้เกิดอัคคีภัยมากที่สุด? โดยหลักๆจะมี 8 เหตุการณ์ที่นำไปสู่เหตุไฟไหม้ ดังนี้

  • การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นระยะเวลานานเกินไป ทำให้ตัวเครื่องอิเล็กทรอนิกส์มีความร้อนสูง (Overheat) กระแสไฟฟ้าวิ่งรั่วไหลนำไปสู่ เหตุการณ์ไฟฟ้าลัดวงจร
  • การใช้สายไฟอุปกรณ์เสียบกับเต้าเสียบรางเดียวกันหลายตัว
  • การเปิดเตาแก๊สทิ้งไว้ในขณะทำอาหารเป็นเวลานาน
  • วาล์วแก๊สถังหุงต้มปิดไม่สนิท ทำให้แก๊สรั่ว เป็นสารที่ไวไฟได้ง่าย
  • เต้ารับติดผนังเกิดไฟฟ้ารั่วไหล เพราะเป็นอุปกรณ์ที่วิ่งกระแสไฟฟ้าอยู่ตลอดเวลา
  • การจัดเก็บวัสดุไวไฟไม่เรียบร้อย ตัววัสดุชำรุดหรือรั่วไหล ทำให้เกิดชนวนอัคคีภัยขึ้นมา
  • ภัยธรรมชาติ เช่น สภาพชั้นบรรยากาศที่ปนเปื้อน ฟ้าผ่า หรือพายุ
  • มนุษย์ที่กระทำการก่อเหตุเพลิงไหม้โดยไม่ได้ตั้งใจ และตั้งใจ เช่น การวางเพลิง ระเบิด เป็นต้น

แหล่งกำเนิดอัคคีภัย มีอะไรบ้าง

แหล่งกำเนิดอัคคีภัยมีกี่ประเภท ที่เป็นเชื้อเพลิงทำให้เกิดสาเหตุไฟไหม้ มีปัจจัยดังนี้

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เกิดการลัดวงจรขณะการใช้งาน

  • ประกายไฟจากการเสียดทานของเครื่องจักรไฟฟ้า
  • วัตถุมีความร้อนบรรจุในตัวอุปกรณ์สูง
  • วัสดุไวไฟเกิดการสัมผัสกัน ทำให้เกิดสะเก็ดไฟ ประกายไฟ และเปลวไฟ ลุกไหม้ลามวัตถุต่อเนื่อง
  • ปฏิกิริยาของสารเคมีบางชนิด เมื่อสัมผัสกับน้ำหรืออากาศ จึงทำให้เกิดอัคคีภัย
  • ไอระเหยของก๊าซที่ปนเปื้อนในชั้นบรรยากาศ เช่น โซเดียม (Sodium) โพแทสเซียม (Potassium) ฟอสฟอรัส (Phosphorus) ก่อให้เกิดการเผาไหม้ตกลงสู่พื้นโลก
  • การสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ นำไปสู่มลภาวะอากาศ หรือผู้สูบไม่ทำการดับบุหรี่ให้เรียบร้อย จึงมีประกายไฟในก้นบุหรี่หลงเหลืออยู่
  • วัสดุเกิดภาวะการเผาไหม้กันเอง เช่น ถ่านหินเกิดความร้อนจนเกิดการเผาไหม้ หรือ กองขยะแห้งอยู่กระจุกเป็นกองใหญ่
  • อุปกรณ์ที่บรรจุแก๊สมีส่วนที่รั่วไหล และชำรุด
  • ไฟฟ้าสถิตบนพื้นผิวของวัสดุ หรือผิวกายมนุษย์ เกิดประจุไม่สมดุลของไฟฟ้า

แนะนำ อุปกรณ์ดับอัคคีภัยแบบไหน? สามารถดับเพลิงประเภทใดได้บ้าง? อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน ถังดับเพลิงมีกี่ชนิด

องค์ประกอบไฟ

โดยทั่วไป ส่วนประกอบของไฟหลัก ๆ มี 3 อย่าง ดังนี้

  • เชื้อเพลิง (Fuel)  วัสดุที่เป็นชนวนการเกิดเผาไหม้
  • ความร้อน (Heat) ไอกระแสลมร้อนเป็นตัวลุกลามเกิดกระแสลมเชื้อเพลิงต่อเนื่อง
  • ออกซิเจน (Oxygen) ยิ่งมีมวลออกซิเจนมากเท่าไหร่ตัวอัคคีภัยจะขยายเป็นวงกว้างมากขึ้น

หากสามารถตัดวงจรอัคคีภัย 1 ใน 3 ขององค์ประกอบของไฟไปได้ จะช่วยทำให้การเผาไหม้สลายออกไป