in

สรรพคุณของมะเม่าต่อสุขภาพ

สรรพคุณของมะเม่าต่อสุขภาพ

ผลมะเม่าสุกจะมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ช่วยขจัดสารพิษออกจากร่างกาย และยังช่วยชะลอความแก่ชราได้อีกด้วย
รสฝาดของผลมะเม่าสุก จะมีสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยยับยั้งไม่ให้ผนังหลอดเลือดเสื่อมหรือเปราะง่าย
รสขมของมะเม่าจะมีสารแทนนิน (Tannin) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยทำให้เกล็ดเลือดจับตัวกันน้อยลง จึงมีส่วนช่วยป้องกันโรคหัวใจล้มเหลวได้
ทั้งห้าส่วนของมะเม่าใช้ต้มดื่มเป็นประจำเป็นยาอายุวัฒนะได้ (ผล, ราก, ต้น, ใบ, ดอก)
น้ำมะเม่าสกัดเข้มข้นใช้เป็นอาหารบำรุงสุขภาพได้ดีเหมือนน้ำลูกพรุนสกัดเข้มข้น มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ
มะเม่ามีศักยภาพในการช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันและยังมีฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV อีกด้วย (กัมมาลและคณะ, 2546)
ช่วยบำรุงสายตา (ผลสุก)
ช่วยแก้กษัย (ต้น, ราก)มะเม่าหลวง
ช่วยขับโลหิต (ต้น, ราก)
มะเม่ามีสรรพคุณช่วยฟอกโลหิต (ผลสุก)
มีสรรพคุณทางยาช่วยขับเสมหะ (ผลสุก)
ผลมีสรรพคุณเป็นยาระบาย (ผลสุก)
ช่วยขับปัสสาวะ (ต้น, ราก)
ช่วยแก้มดลูกพิการ (ต้น, ราก)
ช่วยแก้มดลูกอักเสบช้ำบวม (ต้น, ราก)
ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี (ต้น, ราก)
ช่วยขับน้ำคาวปลา (ต้น, ราก)
ช่วยบำรุงไต (ต้น, ราก)
ช่วยแก้เส้นเอ็นพิการ (ต้น, ราก)
ช่วยแก้และบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย (ต้น, ราก)
ใบมะเม่านำไปอังไฟแล้วนำมาประคบใช้รักษาอาการฟกช้ำดำเขียวได้ (ใบ)
ใบสดนำมาตำใช้พอกรักษาแผลฝีหนองได้ (ใบ)
ประโยชน์ของมะเม่า
ผลสุกใช้รับประทานเป็นผลไม้ได้ หรือจะนำมาทำเป็นส้มตำมะเม่าก็ได้เช่นกัน
ยอดอ่อนของมะเม่าใช้รับประทานเป็นผักสดได้ (ยอดอ่อน)
สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่าง เช่น แยม น้ำผลไม้ หรือนำไปทำเป็นไวน์เกรดคุณภาพสูง เป็นต้น
น้ำหมากเม่าหรือน้ำคั้นที่มาจากผลมะเม่าสุกสามารถนำไปทำสีผสมอาหารได้ โดยจะให้สีม่วงเข้ม แถมยังปลอดภัยต่อผู้บริโภคอีกด้วยครับ
เนื้อไม้ของต้นมะเม่าสามารถนำมาใช้ทำเป็นที่อยู่อาศัยหรือทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้
พระสงฆ์ในแถบเทือกเขาภูพานใช้เป็นน้ำปาณะมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล
ประโยชน์ของมะเม่าอย่างอื่นก็เช่น การปลูกเป็นไม้ประดับหรือใช้ปลูกเพื่อเป็นร่มไม้ เป็นต้น