in ,

ขนมสอดไส้กับวัฒนธรรมไทย

ขนมสอดไส้กับวัฒนธรรมไทย

ขนมใส่ไส้”หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า”ขนมสอดไส้”เป็นขนมไทยที่ใช้ในพิธีขันหมากในสมัยโบราณ ขนมใส่ไส้นี้ห่อด้วยใบตองแล้วมีเตี่ยวคาด (เตี่ยวก็คือทางมะพร้าว) ห่อเป็นทรงสูง ขนมใส่ไส้มีกลิ่นหอมและหวานจากตัวไส้ รสเค็มมันด้วยหน้ากะทิที่สดใหม่ หน้าข้นพอดี ไม่เละ เดี๋ยวนี้จะหาขนมใส่ไส้ที่มีรสอร่อยซึ่งมีทั้งกลิ่นหอมและหวานมัน มารับประทานได้ยาก เพราะขนมใส่ไส้ที่อร่อยต้องใส่กะทิที่ข้นมัน ซึ่งมะพร้าวเดี๋ยวนี้ราคาก็แพงน่าดู สำหรับตัวแป้งที่หุ้มใช้ทั้งแป้งข้าวเหนียวขาวและแป้งข้าวเหนียวดำเวลานวดต้องค่อยๆ ใส่น้ำแล้วต้องนวดนานๆ เม็ดแป้งจะอุ้มน้ำได้ดีเพราะเป็นแป้งแห้ง แป้งจะมีความเหนียวดีไม่เหมือนในสมัยก่อนจะใช้แป้งที่โม่เอง แป้งก็จะเปียกและอุ้มน้ำอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องนวดนาน หน้าของขนมเวลากวนแล้วต้องรีบตักหยอดขณะที่ร้อนอยู่จึงจะเรียบเวลาห่อขนมจะได้รูปตามที่ห่อและน่ารับประทาน ใบตองที่ใช้ห่อขนมใส่ไส้ควรใช้ใบตองตาน

ห่อหุ้มไส้ข้างใน ทำจากมะพร้าวเคี่ยวน้ำตาล หยอดด้วยแป้งข้าวเจ้า กะทิ และเกลือ ที่กวนสุก แล้วห่อด้วยใบตองให้เป็นทรงสูงคาดด้วยทางมะพร้าว จะได้ขนมที่มีกลิ่นหอม ไส้หวาน เค็มมันด้วยกะทิที่ข้นมัน เนื่องจากต้องกวนไส้ กวนกะทิ และนำไปนึ่งให้สุก ซึ่งจะผ่านความร้อนถึง 3 ครั้ง คนโบราณจึงมักเรียกขนมนี้อีกอย่างหนึ่งว่า ขนม 3 ไฟ สำหรับที่มาที่ไป ที่แน่ชัดนั้นไม่ปรากฏ แต่คาดว่าน่าจะเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านในครัวเรือนที่ปลูกต้นมะพร้าวจำนวนมาก เมื่อเหลือจากรับประทานในชีวิตประจำวันแล้ว จึงได้นำมาทำเป็นขนมไว้รับประทาน และจำหน่ายยังชุมชนอื่น ๆ โดยชุมชนที่ขึ้นชื่อเรื่องการทำขนมสอดไส้ในปัจจุบัน ก็คือ ชุมชนตำบลหนามแดง อ.เมืองฉะเชิงเทรา จ.ฉะเชิงเทรา

-ส่วนผสมไส้มะพร้าว
ลูกมะพร้าวอ่อน
ลูกมะพร้าวทึนทึก
น้ำมะพร้าว 50 กรัม
เกลือ 1/2 ช้อนชา
น้ำตาลโตนด 480 กรัม
-ส่วนผสมแป้งโตนดห่อไส้มะพร้าว
แป้งข้าวเหนียว 300 กรัม
เนื้อตาลโตนด 170 กรัม
-ส่วนผสมกะทิ
แป้งข้าวเจ้า 120 กรัม
แป้งถั่วเขียว 1 ช้อน
หัวกะทิ
หางกะทิ
น้ำตาลทราย 2 ช้อน
เกลือ 3/4 ช้อน